เมนู

กาย แม้เขาบริหารอย่างนี้ ก็แตกกายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
เพราะเหตุนั้นกายจึงต้องแตกและเรี่ยรายไป อธิบายว่า มีสภาวะเป็นอย่าง
นั้น. ในพระสูตรนั้น ตรัสถึงความเจริญด้วยบทว่า กาย เกิดแต่มารดาบิดา
การเติบโตด้วย ข้าวสุกและขนมสด และการประคบประหงม. ตรัสถึง
ความเสื่อมด้วยบทว่าไม่เที่ยง แตก และการกระจัดกระจาย อีกอย่างหนึ่ง
ตรัสการเกิดขึ้นด้วยบทก่อน ๆ และการดับไปด้วยบทหลัง ๆ. ทรงแสดง
ความต่างแห่งการเจริญ การเสื่อมและการบังเกิดแห่งกาย ซึ่งประชุมด้วย
มหาภูตรูป 4 ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอุททกสูตรที่ 10

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมสังคัยหสูตร 2. ทุติยสังคัยหสูตร 3. ปริหานสูตร
4. ปมาทวิหารสูตร 5. สังวรสูตร 6. สมาธิสูตร 7 ปฏิสัลลีนสูตร
8. ปฐมนตุมหากสูตร 9. ทุติยนตุมหากสูตร 10. อุททกสูตร

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ


1. อวิชชาวรรค 2. มิคชาลวรรค 3. คิลานวรรค 4. ฉันนวรรค
5. ฉฬวรรค.
จบ ฉฬวรรคที่ 5
จบ ทุติยปัณณาสก์

3. ตติยปัณณาสก์



โยคักเขมีวรรคที่ 1



1. โยคักเขมีสูตร


ว่าด้วยผู้เกษมจากโยคะ


[ 152 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็น
เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรม-
ปริยายอันเป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะเป็นไฉน ธรรมปริยายอัน
เป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียร
ที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง
เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนได้กำหนัด
อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควร
ประกอบเพื่อละธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง
เรียกว่าผู้เกษมจากโยคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรมปริยายอันเป็น
เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะ.
จบ โยคักเขมีสูตรที่ 1